วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 6



นวัตกรรมการเรียนการสอน


นวัตกรรมการเรียนการสอน

                 ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู – อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

ความหมาย
      คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา”จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆหรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมโดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพและถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย
 ความสำคัญ
        ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษาก็คือสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้   ดังนี้
1.  เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน  เช่น
      1.1  ปัญหาเรื่องวิธีการสอน   ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ  คือ  ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย    โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น    การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย   เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย   ขาดความสนใจแล้ว    ยังเป็นการปิดกั้นความคิด   และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
       1.2   ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา   บางวิชาเนื้อหามาก    และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรมยากแก่การเข้าใจ    จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
        1.3     ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน   บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย
ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้    เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน   และผลิตสื่อการสอนใหม่  ๆ  เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู–อาจารย์ท่านอื่น ๆ  หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน   ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
 ขั้นตอน
 1.  ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน   จะต้องมีการ
     1.1  กำหนดรูปแบบของผลงาน
     1.2  กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา
     1.3  กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา
2.  ขั้นตอนการจัดทำผลงาน
     2.1  นำหลักสูตร   เนื้อหา   และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักในการจัด
     2.2   กำหนดโครงสร้างของผลงาน   (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะจัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง)
3.  ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้   เช่น
     3.1  ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
     3.2  ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้    เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน    ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด
     3.3  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น   ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน
4.   ขั้นนำผลงานไปใช้
-    ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน
5.  ผลของการนำไปใช้
-    อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น   สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือนำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง
6.  ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ
-   เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น   มีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่   เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา
ขั้นตอนนี้  ควรอธิบายโดยละเอียดว่า   ได้มีการเผยแพร่ที่ใด   หรือในลักษณะใดบ้าง  โดยอาจแบ่งประเภทให้เห็นชัดเจนว่า
-    การเผยแพร่ในโรงเรียน
-     การเผยแพร่แก่สาธารณะในวงการศึกษา
 รูปแบบนวัตกรรม
                   นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ   เช่น
-   แผนการสอน
-   ชุดการสอน
-   คู่มือครู
-   บทเรียนสำเร็จรูป
-   สไลด์
-   ใบความรู้              
-   สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
-   เกม

เทคนิคในการจัดทำ
1.  ในการผลิตสื่อการสอน    ควรเน้นในเรื่องความประหยัดและให้เกิด
ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน  (ทำจริง – ใช้จริง – มีประโยชน์ต่อนักเรียนจริง)
2.   ต้องมีคู่มือในการใช้สื่อและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถให้รายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ
-   จุดประสงค์ในการสร้างสื่อ
-   วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย
-    รูปแบบที่ต้นแบบ
-    วิธีการทำ / ผลิต / ประดิษฐ์
-    การทดลองใช้ / การปรับปรุงแก้ไข
-    ประโยชน์ / การนำไปใช้
-    คุณภาพ / ประสิทธิภาพ /
-    หลักฐานการนำไปใช้


อ้างอิง : สมเดช  สีแสง และคณะ. 2543.ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. นครสวรรค์ : ริมปิง